Skip to content

รวมทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คืออะไร? มีกี่แบบ?

ไฟฉุกเฉินคืออะไรมีกี่แบบทำงานอย่างไร

อาคารทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอาคารเล็กหรือใหญ่ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือ “ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)” ที่จะติดตั้งอยู่ตามบริเวณทางเดิน หรือทางออกฉุกเฉิน ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลอาคาร อาจยังไม่เคยรู้ความหมายของ ไฟฉุกเฉินว่าคืออะไร สำคัญต่อระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไร วันนี้ Sunny Emergency Light ได้รวบรวมสาระสำคัญของระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน แบบครบจบในบทความเดียว ไปค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

ไฟฉุกเฉินคืออะไร?

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คือ เครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือจับสัญญาณได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีค่าความสว่างต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานของแต่ละรุ่น) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน นำทางไปยังป้ายทางออกฉุกเฉิน และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย

ไฟฉุกเฉินควรติดตั้งบริเวณใดบ้าง

ตัวอย่างบริเวณที่ต้องมีโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฉุกเฉิน ดังนี้

  • เส้นทางหนีภัย หรือทางหนีไฟ
  • บริเวณทางออกอาคาร
  • บริเวณภายนอกอาคาร
  • ทางแยก และทางเลี้ยวในอาคาร
  • พื้นที่เปลี่ยนระดับ
  • พื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานดับเพลิงเจ้าหน้าที่พนักงานกู้ภัยในลิฟต์ดับเพลิง
  • บริเวณพื้นที่งานอันตรายต่าง ๆ 
  • บริเวณห้องน้ำ บันไดเลื่อน และทางเลื่อน
  • จุดรวมพลเพื่อการอพยพในอาคาร

ทั้งนี้ในแต่อาคารจะต้องมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าฉุกเฉินตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4745 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2690-2558 โดยเป็นการติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การอพยพบุคคลออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

ไฟฉุกเฉินทำงานอย่างไร?

โคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง โดยแบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ แบตเตอรี่แบบแห้ง และแบตเตอรี่แบบชนิดเติมน้ำกลั่น ซึ่งปัจจุบันไม่มีการนำแบตเตอรี่ประเภทนี้มาใช้กับไฟฉุกเฉินแล้ว  โดยเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ โคมไฟฉุกเฉินจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการส่องสว่าง ซึ่งระยะเวลาการส่องสว่างจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของโคมไฟฉุกเฉินและขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะต้องส่องสว่างอยู่ได้นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ไฟฉุกเฉินมีกี่แบบ แต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร?

ในปัจจุบัน มีโคมไฟฉุกเฉินจัดจำหน่ายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง

เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันทั่วไป เพราะให้แสงสว่างได้สูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังวัตต์ต่ำมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องนาน 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะนำมาติดตั้งแบบแขวนผนังตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของอาคาร

ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง

สำหรับใครที่ไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง รุ่นไหนดี! เราขอแนะนำ โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG จาก SUNNY ที่มาพร้อมกับระบบ Auto Check ที่คอยตรวจเช็กสมรรถนะของตัวเครื่องและแจ้งเตือนความผิดปกติอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ และวงจรแสงสว่าง ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าโคมไฟฉุกเฉินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จ  3 Steps Charger (เลขอนุสิทธิบัตร 15955) ที่ช่วยปกป้องกระบวนการชาร์จแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์

2. ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบซ่อนฝ้า

โคมไฟฉุกเฉิน LED  2 หัวโคม แบบซ่อนฝ้า จะมีฟังก์ชันการใช้งานคล้ายกับแบบแขวนผนังเลย แต่รูปทรงจะถูกออกแบบมาสำหรับซ่อนฝ้าโดยเฉพาะ มักนิยมติดตั้งบริเวณทางเดินของอาคาร เพื่อให้แสงสว่างฉุกเฉินเวลาที่ไฟดับ และนำทางผู้ใช้อาคารไปยังเส้นทางหนีภัย

ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบซ่อนฝ้า

สำหรับใครที่ไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบซ่อนฝ้า รุ่นไหนดี! เราขอแนะนำ โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG-R จาก SUNNY ซึ่งเป็นโคมไฟที่ออกมาเพื่อรองรับการติดตั้งแบบซ่อนฝ้าโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับอาคารและสถานที่ ดวงโคมไฟฟ้าสามารถปรับทิศทางได้อย่างอิสระ และสามารถทดสอบการทำงานด้วยรีโมทคอนโทรล (Remote Test) ได้อีกด้วย

3. โคมไฟฉุกเฉินดาวน์ไลท์

เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่มีลักษณะเหมือนโคมไฟดาวน์ไลท์ เหมาะกับการติดตั้งแบบติดลอยใต้ฝ้าภายในอาคาร สำนักงาน บ้านพักอาศัย ช่วยให้การตกแต่งดีไซน์อาคารดูทันสมัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์จากฟังก์ชันการใช้เหมือนโคมไฟฉุกเฉินแบบอื่น ๆ ด้วย

โคมไฟฉุกเฉินดาวน์ไลท์

สำหรับใครที่ไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉินดาวน์ไลท์ รุ่นไหนดี! เราขอแนะนำ โคมไฟฉุกเฉินดาวน์ไลท์ รุ่น EDLS จาก SUNNY ที่มีรูปทรงสวยงาม ตัวโคมไฟดาวน์ไลท์ผลิตจากแผ่นเหล็ก Electro-Galvanized หนา 1 มม. พ่นและเคลือบด้วยระบบ Epoxy powder Coated เคลือบนํ้ายาป้องกันการเกิดสนิมของตัวโคมเป็นอย่างดี สามารถใช้งานทดแทนหลอดไฟได้ตามปกติ มาพร้อมกับฟังก์ชัน Light Timer ตั้งเวลาปิดหลอดไฟเองอัตโนมัติได้

เลือกซื้อไฟฉุกเฉินให้คุ้มค่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ไม่เคยซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้งาน อาจไม่รู้ว่าควรเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินอย่างไรดี เพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินมาใช้งานอย่างคุ้มค่า เรามีคำแนะนำในการเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาฝาก สามารถเลือกซื้อได้ตามหัวข้อเหล่านี้เลย

  • การให้แสงสว่าง โคมไฟฉุกเฉินแบบ 2 หัวโคม จะกระจายแสงได้ดีกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบเดี่ยว
  • บริเวณที่ติดตั้ง โคมไฟฉุกเฉินแต่ละแบบจะเหมาะกับการติดตั้งบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น หากต้องการติดตั้งบริเวณทางเดินของอาคาร จะแนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินแบบซ่อนฝ้า หรือดาวน์ไลท์ จะเหมาะมากกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบแขวนผนัง เป็นต้น
  • ระยะเวลาในการส่องสว่าง แนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินที่สามารถส่องสว่างได้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้น
  • มาตรฐานของโคมไฟฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน แนะนำให้เลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าต่าง ๆ ทั้งตัวเครื่องและแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉิน เช่น มาตรฐาน มอก., CE Mark หรือ UL Mark เป็นต้น
  • การรับประกันสินค้า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากโคมไฟฉุกเฉินมีอายุการใช้งานหลายปี หากไม่มีการรับประกันสินค้า หรือการดูแลหลังการขาย เมื่อตัวเครื่องขัดข้องก็อาจเกิดปัญหา ไม่สามารถหาคนมาซ่อมแซมได้

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น มีดังนี้

  • การเก็บรักษาโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ควรเก็บในอุณหภูมิห้องที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และทุก ๆ  3 เดือนควรนำโคมไฟฉุกเฉินมาทำการชาร์จประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม เพื่อถนอมรักษาคุณภาพแบตเตอรี่
  • หลังจากที่ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินแล้ว แนะนำให้เสียบปลั๊กไฟฟ้า เพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ

ไฟฉุกเฉินต้องทดสอบระบบทุก ๆ กี่เดือน

ไฟฉุกเฉินต้องทดสอบระบบทุกเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยเป็นการทดสอบการทำงานของหลอดไฟ แบตเตอรี่ และวงจรควบคุม ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้งานจริง

  • ทดสอบการทำงานของโคมไฟ เป็นการตรวจสอบว่าหลอดไฟทั้งหมดในระบบไฟฉุกเฉินทำงานได้ปกติ ไม่มีหลอดไฟที่เสียหรือกะพริบผิดปกติ รวมถึงตรวจสอบความสว่างของหลอดไฟว่ายังอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรฐานหรือไม่ 
  • ทดสอบการทำงานของแบตเตอรี่ เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ว่าสามารถให้พลังงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ การทดสอบนี้จะช่วยให้ทราบว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพหรือต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่หรือไม่

ขั้นตอนการทดสอบระบบไฟฉุกเฉิน

  • กดสวิตช์ TEST ไฟฉุกเฉินส่วนใหญ่จะมีปุ่มทดสอบติดตั้งมาด้วย เมื่อกดปุ่มนี้ ระบบจะจำลองสถานการณ์ไฟดับโดยสลับจากการใช้ไฟฟ้าหลักมาเป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แทน สังเกตว่าไฟฉุกเฉินติดสว่างทันทีหรือไม่ และมีความสว่างเพียงพอตามมาตรฐานหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรแจ้งช่างเทคนิคเพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุงทันที
  • ถอดปลั๊กไฟฉุกเฉินออก ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วค่อยเสียบปลั๊กอีกรอบ เพื่อทดสอบความทนทานของแบตเตอรี่ในการจ่ายไฟให้กับหลอดไฟฉุกเฉิน สังเกตว่าความสว่างลดลงหรือไม่ หากความสว่างลดลงอย่างรวดเร็วหรือไฟดับก่อนครบเวลาที่กำหนด แสดงว่าแบตเตอรี่อาจเสื่อมสภาพและควรพิจารณาเปลี่ยนใหม่ การทดสอบนี้ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินจริง ระบบจะทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้

ข้อควรระวังในการติดตั้งไฟฉุกเฉิน

ข้อควรระวังในการติดตั้งไฟฉุกเฉิน มีดังนี้

  • ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินภายในอาคาร ปราศจากแสงแดดกระทบโดยตรง ไม่ควรติดตั้งบริเวณที่เปียกชื้น หรือมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉินได้ 
  • ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินในบริเวณที่มั่นคง และแข็งแรง เนื่องจากแบตเตอรี่มักมีน้ำหนักมาก อาจร่วงหล่นลงมา และเป็นอันตรายกับผู้ใช้อาคารได้
  • ควรติดตั้งโคมไฟในบริเวณเส้นทางหนีไฟที่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร หากต้องติดตั้งบริเวณที่ต่ำกว่า 2 เมตร ตัวอุปกรณ์ต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีไฟ

สั่งซื้อ “ไฟฉุกเฉิน SUNNY” ทุกช่องทางจัดจำหน่ายได้แล้ววันนี้

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยไฟฉุกเฉิน คืออะไร และทำให้ทุก ๆ คนรู้จักกับโคมไฟฟ้าฉุกเฉินกันมากขึ้น สามารถเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้งานได้อย่างถูกประเภท คุ้มค่าคุ้มราคามากที่สุด อุปกรณ์ทุกรุ่นของ SUNNY มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล พร้อมรับประกันครบทั้ง หลอดไฟ 10 ปี แผงวงจร 5 ปี และแบตเตอรี่ 4 ปี ให้คุณใช้งานได้อย่างสบายใจ ไม่ผิดหวังแน่นอน! 

สนใจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จาก SUNNY ได้ที่

หรือเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านโมเดิร์นเทรดอย่าง ไทวัสดุ โฮมโปร เมกะโฮม Bean & Beyond หรือ ตัวแทนจำหน่ายไฟฉุกเฉิน SUNNY ใกล้บ้านคุณ และหากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟฉุกเฉิน และอุปกรณ์อื่น ๆ สามารถติดต่อเราได้ที่ 02-378-1034