Skip to content

ประโยชน์ของโคมไฟฉุกเฉิน และ ป้ายทางออกหนีไฟฉุกเฉิน อ้างอิงจากหลัก วสท.

ว่าด้วยเรื่องความใส่ใจ ผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นวิศวกรไฟฟ้าหรือทำงานในด้านนี้ ย่อมรู้จักกันดีว่าโคมฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉิน สองสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ ที่จะช่วยลดโอกาสของการสูญเสียในเหตุการณ์ไฟไหม้ ที่ไฟฟ้าดับ

เมื่อเกิดเพลิงไหม้ส่วนมากจะเกิดในช่วงกลางคืน  ซึ่งไฟฟ้าจะดับและบริเวณทางหนีไฟหรือประตูทางออกจะมืด ถ้าคุณอยู่ในอพาท์เม้นชั้นสี่แล้วไฟไหม้ ไฟฟ้าดับคุณจะหาทางออกได้อย่างไร จะไปทางไหนเมื่อไฟมา ควันไฟเป็นตัวสำคัญที่จะบดบังทางเอาชีวิตรอดของคุณ ซึ่งโคมไฟฉุกเฉินจะส่องสว่างเมื่อเวลาไฟดับช่วยให้คุณเห็นทางออกที่จะสามารถออกจากที่เกิดเหตุได้ ป้ายทางออกฉุกเฉินจะติดอยู่บริเวณทางออกเพื่อให้ผู้ประสบเหตุเห็นว่าทางออกอยู่ทางไหน โดยจะส่องสว่างตลอดเวลาแม้ไฟฟ้าดับเพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแบตเตอรี่ที่จะจ่ายกระแสไฟเมื่อไฟฟ้าดับครับ

ขอยกตัวอย่างในเรื่องของกฎหมายและการติดตั้ง

  1. อาคารนั้นควรมีการติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกที่เหนือประตูทางออก และควรมีโคมไฟฟ้าป้ายทางออกที่มองเห็นได้ในระยะไม่เกิน 24 เมตรจากจุดที่เราอยู่ และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกต้องส่องสว่างตลอดเวลาที่มีคนใช้งานอยู่ในอาคาร แต่ถ้าหากจากจุดที่เรายืนอยู่ มองรอบตัวแล้วยังมองไม่เห็นโคมไฟฟ้าป้ายทางออกในระยะ 24 เมตรแล้ว  ถ้าหากเกิดไฟไหม้ ไฟดับแล้วเขาจะไม่รู้เลยว่าควรจะออกจากอาคารได้ด้วยเส้นทางใด
  2. สถานที่ที่ควรมีระบบโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วสท.กำหนดให้หากเกิดกรณีไฟดับแล้วอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน สำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานบันเทิง ร้านอาหาร คอนโดฯ ต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินที่ให้ระดับความส่องสว่างที่พื้นกึ่งกลางทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์ (คือหน่วยที่ใช้วัดความสว่าง (Illuminance) 10:45 N. 1 lux = 10.76 lm / ft2 (ตารางฟุต)
  3. หลังจากที่ไฟฟ้าดับหรือระบบการจ่ายไฟผิดปกติ ระบบโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องให้แสงสว่างภายใน 5 – 60 วินาที และสำหรับพื้นที่งานที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องให้แสงสว่างภายใน 0.5 วินาที เช่น ภายในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรกำลังทำงาน เครื่องปั๊ม เครื่องตัดเหล็ก พื้นที่โรงงานที่มีมอเตอร์หมุน เป็นต้น ซึ่งหากเกิดเหตุการฉุกเฉินระบบไฟฟ้าแสงว่างฉุกเฉินต้องทำงานให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลที่อยู่ในพื้นที่

อ้างอิงข้ออมูลเนื้อหา จากหนังสือ มาตรฐาน วสท. ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4
นอกจากในส่วนของอุปกรณ์เซฟตี้ในเหตุการณ์ต่างๆ โคมไฟฉุกเฉินยังช่วยในเรื่องของการส่องสว่างเวลาไฟฟ้าดับ คุณจะทำงานต่อได้อย่างไร หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ คุณก็ต้องการแสงสว่าง แต่หากมีไว้ปลอดภัยแถมยังมีประโยชน์มากมายหลายด้าน ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี มอก. รับรอง

บทความใกล้เคียง

มาตรฐานระยะทางการติดตั้งและขนาดสัญลักษณ์ ของป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟ

ป้ายทางออกฉุกเฉิน/ป้ายทางหนีไฟด้านบน ลักษณะการติดตั้ง ขอบล่างของป้ายทางออกฯ ควรอยู่สูงจากพื้นประมาณ 2-2.7เมตร

Read More »

ความส่องสว่างเพื่อการหนีไฟ

มาตรฐานเรื่องค่าของแสง พื้นที่แต่ละพื้นที่ในอาคารจะต้องมีค่าความสว่างเท่าไหร่ตามข้อกำหนด ในกรณีที่ระบบจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องให้มีระดับความส่องสว่างขั้นต่ำ เพื่อให้หาทางออกได้อย่างปลอดภัยดังนี้

Read More »

มาตรฐานชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วง

มาตรฐานชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วง ใช้สำหรับเดินจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินส่วนกลางไปยังโคมไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ในอาคารใหญ่ อาคารใหญ่พิเศษ หรือ

Read More »