Skip to content

Articles

แบตเตอรี่แห้ง มีอายุการใช้งานกี่ปี มีวิธีดูแลอย่างไร

แบตเตอรี่แห้ง มีอายุการใช้งานกี่ปี มีวิธีดูแลอย่างไร

แบตเตอรี่แห้งอายุการใช้งานกี่ปี มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร เป็นคำถามที่คนมากมายต้องการรู้คำตอบ โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถยนต์ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ในงานไฟสำรองที่ต้องใช้แบตเตอรี่แห้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ในบทความนี้ Sunny Emergency Light มีรายละเอียดข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง อายุการใช้งาน และวิธีการดูแลรักษามาให้ทุกคนดู แบตเตอรี่แห้งคืออะไร แบตเตอรี่แห้ง เป็นที่นิยมในการใช้งานในอุปกรณ์เล็ก ๆ เนื่องจากมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไม่มีปัญหาการรั่วไหลของน้ำ Elecrolyte และมีสารเคมีชนิดแห้งที่ช่วยในกระบวนการสร้างกระแสไฟฟ้า เหมาะกับการใช้งานในรถจักรยานยนต์ รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการป้องกันภัยอื่นๆ เช่น ไฟฉุกเฉิน เป็นต้น ประเภทของแบตเตอรี่แห้ง แบตเตอรี่แห้งมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะและการใช้งานแตกต่างกันไป โดยบางประเภทอาจถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในงานอุตสาหกรรม และบางประเภทมีการใช้งานภายในบ้าน อาคาร หรือยานพาหนะ 1. แบตเตอรี่แห้งยืดหยุ่น (AGM – Absorbent Glass Mat) แบตเตอรี่แห้งยืดหยุ่น เป็นแบตเตอรี่ที่มีแผ่นใยแก้วคอยดูดซับ Elecrolyte ทำให้มีประสิทธิภาพการชาร์จและสะสมพลังงานได้ดี มักใช้งานในระบบรถยนต์ และระบบพลังงานสำรอง 2. แบตเตอรี่แห้งไฮบริด (AGM Hybrid) แบตเตอรี่แห้งไฮบริด จะประกอบด้วยแผ่น AGM ร่วมกับเซลล์ไฮบริด ซึ่งมีความสามารถในการรับน้ำหนักมากกว่าแบตเตอรี่ AGM ธรรมดา มักใช้ในรถยนต์และเครื่องจักรที่ต้องการการป้องกันการรั่วไหลของน้ำ Elecrolyte สูง 3. แบตเตอรี่แห้งไฟฟ้ายานพาหนะ (Starting-Lighting-Ignition, SLI) แบตเตอรี่แห้งที่ใช้ในยานพาหนะเพื่อให้พลังงานในการเริ่มต้นเครื่องยนต์ที่พบบ่อยคือแบตเตอรี่แห้งแบบลิทีอัม (Lithium-ion) ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีและมีน้ำหนักเบา 4. แบตเตอรี่แห้ง SLA (Sealed Lead-Acid Battery) แบตเตอรี่แห้ง SLAเป็นแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก มักถูกใช้งานในระบบไฟฟ้าสำรอง มีความเสถียรและทนทาน อายุการใช้งานยืนยาว แบตเตอรี่แห้ง มีอายุการใช้งานกี่ปี โดยทั่วไป แบตเตอรี่แห้งอายุการใช้งานประมาณ 4-5 ปี ไม่ต้องบำรุงรักษามากมายก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีแบตเตอรี่แห้ง การดูแลรักษาแบตเตอรี่แห้งให้ใช้งานได้ยาวนาน จากที่ได้เห็นกันว่าแบตเตอรี่แห้งมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การดูแลรักษาแบตเตอรี่แห้งอย่างเหมาะสม จะช่วยให้สามารถใช้งานได้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ซึ่งเราได้รวบรวมข้อแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแบตเตอรี่แห้งมาให้ดังนี้ ตรวจสอบการเชื่อมต่อและสายไฟ ควรตรวจสอบสภาพสายไฟให้แน่ใจว่าสายไฟไม่มีสัญญาณความเสื่อมสภาพ และตรวจสอบการเชื่อมต่อว่าแน่นเพียงพอหรือไม่ การเก็บรักษาและความสะอาด ควรเก็บแบตเตอรี่ในที่แห้ง ป้องกันการโดนน้ำหรือความชื้นและห่างไกลจากแสงแดด

Read More »
การติดตั้งไฟฉุกเฉินที่ถูกต้องในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

การติดตั้งไฟฉุกเฉินที่ถูกต้องในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

ไฟฉุกเฉิน หรือ Emergency Light คืออุปกรณ์ให้แสงสว่างในอาคารเมื่อเกิดเหตุไฟดับ ไฟไหม้ หรือสภาพการมองเห็นต่ำ ซึ่งจะส่องสว่างทันทีหลังจากไฟดับ ทำงานโดยอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำรอง นอกจากการติดตั้งไฟฉุกเฉินจะให้ความสว่างกรณีไฟฟ้าดับแล้ว ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ต้องยึดถือปฏิบัติตามอีกด้วย โดยเฉพาะในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม การติดตั้งไฟฉุกเฉินสำคัญอย่างไร การติดตั้งไฟฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญ สามารถช่วยให้ผู้คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถมองเห็น และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน รวมถึงด้วยตำแหน่งที่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉิน ดังนี้ ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฉุกเฉิน ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฉุกเฉิน กำหนดไว้ดังนี้ ตำแหน่งที่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉิน การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยติดตั้งในตำแหน่งเส้นทางหนีภัย เช่น ประตูทางออก ทางแยก ทางเลี้ยว พื้นต่างระดับ บันไดเลื่อนและทางเลื่อน จุดรวมพลเพื่อการหนีภัยภายในอาคาร ดาดฟ้าและบริเวณพื้นที่รอการหนีภัยทางอากาศ และพื้นที่อื่น ๆ เช่น ห้องน้ำ พื้นที่เปิดโล่งภายในอาคาร จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง พื้นที่อันตรายเช่นห้องไฟฟ้าเครื่องกล ฯลฯ การพิจารณาเลือกซื้อไฟฉุกเฉินควรเลือกจากอะไร การเลือกซื้ออุปกรณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นป้ายทางหนีไฟ หรือ ไฟฉุกเฉิน ก็ต้องเลือกที่มีมาตรฐานการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ยิ่งเป็นอาคารใหญ่หรือโรงงานที่มีคนทำงานมากมาย ความปลอดภัยยิ่งต้องเป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงฟังก์ชันการทำงานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ต้องตอบโจทย์การใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ 1. มีมาตรฐาน ไฟฉุกเฉินในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ควรได้รับมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปที่ได้ยึดถือปฏิบัติตามมาอย่างยาวนาน เพื่อความปลอดภัยของคนหมู่มาก 2. ระดับความสว่าง ไฟฉุกเฉินที่ดี โดยเฉพาะแสงสว่างที่ต้องใช้ในพื้นที่กว้างอย่างอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องให้ความสว่างที่เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่  3. ความจุและชนิดของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉิน ต้องสามารถจ่ายไฟไม่ต่ำกว่า 120 นาที มีแรงไฟฟ้าต่ำสุดไม่น้อยกว่า 80% ของแรงดันพิกัดปกติ รวมถึงมีเวลาอัดประจุไม่เกิน 24 ชั่วโมง 4. ระยะเวลาเริ่มทำงานของไฟ ไฟฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ต้องให้แสงสว่างทันทีหรือภายใน 0.5 วินาทีหลังไฟฟ้าดับ โดยทั่วไป โคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ติดตั้งในอาคาร ต้องส่องสว่างต่อเนื่อง 90-120 นาที แต่ในกรณีโรงงานโดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ จะต้องสามารถส่องสว่างไม่น้อยกว่า 120 นาที การติดตั้งไฟฉุกเฉินมีความสำคัญมากในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้

Read More »
10 วิธีเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านที่ไม่ควรมองข้าม

10 วิธีเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคนคงคิดว่าบ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด ไม่เหมือนกับการออกไปข้างนอกที่ต้องเสี่ยงภัยอันตรายหรือเสี่ยงอุบัติเหตุต่าง ๆ  แต่ความจริงนั้น การอยู่บ้านก็ใช่ว่าจะปลอดภัย อาจเกิดอุบัติเหตุได้ไม่ต่างจากโลกภายนอกเลยหากไม่มีการป้องกันที่ดี เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร ความปลอดภัยที่หละหลวมเช่นนี้ อาจส่งผลกับทุกชีวิตที่คุณรักรวมถึงตัวคุณเองด้วย ในบทความมนี้ Sunny Emergency Light มี 10 วิธีเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านมาเล่าสู่กันฟัง จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย วิธีเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้าน 1. การติดตั้งกล้องวงจรปิด วิธีเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านวิธีแรกคือ การติดตั้งกล้องวงจรปิด ซึ่งการติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นสามารถเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่บ้านได้ เปรียบเสมือนหูตาให้เราเมื่อเราไม่อยู่บ้าน และเป็นหลักฐานชั้นดีหากมีการโจรกรรมเกิดขึ้น 2. การติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน การติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน หรือ Smoke Detector เป็นอีกตัวช่วยหลักที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยภายในบ้าน โดยเฉพาะในห้องครัวที่มีการใช้แก๊ส ใช้ไฟฟ้าในการทำอาหาร ซึ่งอันตรายที่ใกล้ตัวที่สุดอาจจะมาในรูปแบบเพลิงไหม้จากการทำอาหาร เมื่อเกิดเพลิงไหม้ Smoke Detector จะสามารถตรวจจับควันไฟ และส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังเครื่องรับสัญญาณ ส่งผลให้มีการดับไฟได้ทันท่วงทีก่อนที่ไฟจะลุกลามไปไกล และช่วยลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อีกด้วย 3. การติดตั้งไฟเพื่อความสว่างและการมองเห็น ความสว่าง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากแสงในบ้านน้อยเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ บ้าน อย่างสนามหญ้า หรือข้างบ้านที่เต็มไปด้วยสัตว์เลื้อยคลาน อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ทั้งนี้ การติดตั้งไฟฉุกเฉินที่บ้านก็เป็นอีกสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเกิดเหตุไฟดับขึ้นมา คุณจะหายห่วงเรื่องความมืดที่มาพร้อมอันตรายได้เลย 4. การติดตั้งวัสดุกันลื่นในพื้นที่เสี่ยง การสะดุดหรือลื่นล้ม เป็นอุบัติเหตุภายในบ้านที่พบเจอได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะทางไม่ราบเรียบ ทางลาดชัน และพื้นในห้องน้ำที่ลื่นจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้สมาชิกภายในบ้านอย่างเด็กเล็กและผู้สูงวัยเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มศรีษะฟาดพื้นได้ ดังนั้น การติดตั้งวัสดุกันลื่นในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยภายในบ้านได้อย่างดี 5. ตรวจระบบไฟฟ้าในบ้านกันไฟลัดวงจร คุณอาจจะเคยชินกับการใช้ไฟฟ้าทุกวันจนลืมเช็กความปลอดภัย โดยเฉพาะระบบไฟฟ้า เครื่องตัดไฟ หรือ เบรกเกอร์ ที่ต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่ามันยังใช้งานได้อยู่หรือชำรุดไปแล้ว ซึ่งการหมั่นตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่เสมอนั้น เป็นการป้องกันอันตรายได้ทันท่วงที ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่นำมาซึ่งการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน 6. มีอุปกรณ์ดับไฟไว้ที่บ้าน ถังดับเพลิงถือเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้าน และผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านทุกคนควรศึกษาวิธีการใช้งานให้เข้าใจ เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ จะสามารถดับไฟที่ลุกลามได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม คุณต้องหมั่นตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงเป็นประจำ รวมถึงเปลี่ยนถ่ายน้ำยาเมื่อครบกำหนดอายุการใช้งาน 7. เก็บของมีคมให้เป็นที่ อุปกรณ์ที่มีปลายแหลมหรือของมีคมต่าง ๆ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยเฉพาะกับเด็กหรือผู้สูงอายุที่อาจจะไม่ทันระวัง เผลอหยิบจับของมีคมอย่างมีด กรรไกร และคัตเตอร์ที่วางอยู่ตามจุดต่าง

Read More »
สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร พร้อมวิธีติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

คุณเคยสังเกตไหม ว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ในตึกหรืออาคารไหน ก็มักจะมีป้ายสีเขียว ๆ ให้เห็นตามทางเดินอยู่เสมอ ซึ่งบนป้ายที่คุณเห็น อาจจะมีทั้งตัวอักษร “ทางออก” หรือ “EXIT” สัญลักษณ์รูปคนวิ่ง รวมไปถึงลูกศรที่ชี้ไปทางทิศใดทิศหนึ่ง ป้ายที่ว่านั้นก็คือป้ายทางหนีไฟ หรือ สัญลักษณ์ทางหนีไฟนั่นเอง เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ทางหนีไฟ และการติดตั้งป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมายกัน สัญลักษณ์ทางหนีไฟ คืออะไร สัญลักษณ์ทางหนีไฟ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้อาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้อาคารต้องเดินไปตามป้ายเพื่อเข้าสู่ประตูหนีไฟ แล้วลงบันไดเพื่อออกสู่ภายนอกอาคาร การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง เนื่องจากป้ายทางหนีไฟมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของคนหมู่มาก การติดตั้งป้ายในอาคารจึงต้องมีมาตรฐานและมีข้อกำหนดควบคุมโดยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของป้าย ขนาดของป้าย ขนาดสัญลักษณ์ในป้าย รวมไปถึงระยะติดตั้ง ซึ่งจะแบ่งตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.)ในบทความนี้ เราจะมาดูข้อกำหนดการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ที่เรายึดถือปฏิบัติตามกันมานาน 1. รูปแบบป้ายหนีไฟ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้กำหนดให้ป้ายประกอบไปด้วย ข้อความทั้งภาษาไทยอย่าง “ทางออก” “ทางหนีไฟ” หรือ “ทางออกหนีไฟ” หรือตัวหนังสือภาษาอังกฤษ “Exit” รวมถึงสัญลักษณ์รูปคนวิ่ง และทิศทางของลูกศร ทั้งนี้ ป้ายต้องให้แสงสว่างที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นได้ง่าย 2. ขนาดป้ายหนีไฟ ขนาดทุกด้านของป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟ ไม่ว่าจะเป็นด้านบน ด้านข้าง ด้านซ้ายและขวา จะต้องห่างจากตัวหนังสือและสัญลักษณ์บนป้ายไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร 3. ขนาดสัญลักษณ์ทางหนีไฟในป้าย ขนาดของสัญลักษณ์ทางหนีไฟในป้ายตามกฎหมายมีดังนี้  4. ระยะติดตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามกฎหมาย ต้องติดตั้งเหนือประตูหรือตามทางเดินที่ความสูง 2-2.7 เมตร โดยป้ายที่ติดอยู่เหนือประตูทางออก ไม่จำเป็นต้องมีลูกศรในป้ายก็ได้ แต่ถ้าเป็นบริเวณทางเดิน ป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟจะต้องมีลูกศรบอกทิศทางให้ชัดเจน ป้ายสัญลักษณ์ทางหนีไฟตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง ถือเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เรายึดถือปฏิบัติตามกันมาอย่างยาวนาน และการติดตั้งป้ายทางหนีไฟให้ถูกต้องตามมาตรฐานดังกล่าว จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้อาคาร และลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากคุณสนใจในอุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ สามารถปรึกษาหรือเลือกซื้อสินค้าของ Sunny Emergency Light ได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือติดต่อเราได้ที่ 02-378-1034

Read More »
การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน ต้องดูแลรักษายังไง

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน ต้องดูแลรักษายังไง

ตามอาคารต่าง ๆ จะต้องมีการออกแบบทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน และจะต้องมีการติดตั้งระบบไฟส่องสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วยเช่นกัน เพื่อให้ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารมองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย นอกเหนือจากการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบไฟฉุกเฉินเป็นประจำว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ เป็นไปตามข้อกำหนดหรือเปล่า เพื่อให้ผู้ใช้งานจะได้มีความปลอดภัย และไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการตรวจสอบนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจําเดือน แต่จะมีหลักการใด ๆ บ้าง ไปดูกัน ขอบเขตการตรวจสอบไฟฉุกเฉินตามมาตรฐาน วสท. หลังจากที่มีการติดตั้งระบบไฟฉุกเฉินให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว หากใช้ไปนาน ๆ ระบบไฟฉุกเฉินอาจจะเกิดการเสื่อมสภาพ และชำรุด เสียหายได้ตามระยะเวลาในการใช้งาน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบระบบไฟฉุกเฉินเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าป้ายทางออก และระบบโคมไฟฉุกเฉิน เพื่อไม่เกิดความเสียหายเมื่อต้องใช้งาน โดยจะต้องมีการตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด และตรวจตามแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน แนวทางการตรวจสอบ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินนั้นจะต้องมีการกำหนดระเวลาในการตรวจสอบ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยสามารถกำหนดตารางในการตรวจสอบไว้ได้เลย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งแนวทางในการตรวจสอบนั้นสามารถเลือกทำได้ 2 แบบ คือ การตรวจสอบไฟฟ้าฉุกเฉินตามวาระ ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเป็นหนึ่งในระบบที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งป้ายหนีไฟ โคมไฟฉุกเฉิน รวมทั้งระบบความสว่างทางหนีภัยนั้นเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดวาระในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นแบบตรวจไฟฉุกเฉินประจำเดือน ประจำปี หรือการตรวจสอบเมื่อมีการติดตั้งใหม่ รวมถึงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติทุก ๆ วัน ตรวจสอบติดตั้งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง เมื่อระบบไฟฟ้าฉุกเฉินมีการติดตั้งใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงในบางจุดจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า โดยจะต้องตรวจสอบจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องส่องสว่างในภาวะฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที พร้อมทั้งต้องทดสอบระบบตัดไฟ การยกเลิกการทำงานของสวิตซ์ไฟอย่างได้มาตรฐานด้วย แบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำเดือน สำหรับแบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำเดือนนั้นจะต้องมีการตรวจเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง โดยระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินจะต้องได้รับการตรวจสอบการทำงาน และทดสอบระบบว่าสามารถทํางานได้ถูกต้องในช่วงเวลาไม่น้อยกวา 30 วินาที หรือในกรณีที่ไม่สามารถจ่ายไฟได้ จะต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลว เตือนให้ได้ทราบ แบบตรวจไฟฉุกเฉิน ประจำปี การทดสอบระบบไฟฟ้าฉุกเฉินประจำปีนั้น จะตรวจสอบโดยการจำลองความล้อมเหลวของแหล่งจ่ายไฟปกติ เพื่อทดสอบ และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินต่าง ๆ จะต้องสว่างในภาวะฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที ในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟ ไม่สามารถจ่ายไฟได้นานถึง 120 นาทีในระหว่างที่ทำการทดสอบ ระบบจะต้องมีสัญญาณในการแจ้งเตือนความล้มเหลว สรุปบทความ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบอกทางให้สามารถหนีภัยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นภายในอาคารได้อย่างปลอดภัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีทั้งแบบตรวจสอบไฟฉุกเฉินประจำเดือน

Read More »
ความสว่างทางหนีภัยอาคารได้มาตรฐานไหม

เช็กลิสต์ ความสว่างทางหนีภัยอาคารได้มาตรฐานหรือไม่

การก่อสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงแรม หรือว่าห้างสรรพสินค้า นอกจากการออกแบบโครงสร้างของตัวอาคารให้มีความปลอดภัยในการใช้งานแล้ว ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินด้วย เพื่อที่จะได้มีทางหนีไฟที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งโดยปกติแล้วตามอาคารต่าง ๆ จะต้องสร้างทางหนีไฟ รวมถึงมีทางหนีภัยให้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว ไปดูกันว่าทางหนีภัยนั้นจะต้องมีความสว่างระดับใด และมีข้อกำหนดใด ๆ อีกบ้างที่เป็นไปตามมาตรฐานวสท. 021004-22 รู้จักมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินจาก วสท. ตามกฎหมายแล้วอาคารจะต้องมีการสร้างทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการอพยพในกรณีที่เกิดภัยฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ พายุเข้า น้ำท่วม หรือเกิดเหตุวินาศกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารนั้นสามารถรอดชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย สำหรับมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินนั้นจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานวสท. 021004-22 ซึ่งมีการจัดทำขึ้นโดยสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดทำมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้เป็นมาตรฐานระดับประเทศ และช่วยให้มีความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถนำหลักนี้ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบมาตรฐานความสว่างขั้นต่ำเพื่อการหนีภัยของอาคาร ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือภัยฉุกเฉิน อาคารจะต้องมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินที่คอยให้แสงสว่าง มีป้ายทางหนีไฟ และโคมไฟฉุกเฉินจะต้องมีการทำงาน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารเข้าใจว่าควรหนีออกทางใด และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งตามมาตรฐาน วสท. 021004-22 นั้นจะต้องเป็นไปตามหลัก ดังนี้ ทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร ในกรณีที่อาคารมีทางหนีไฟที่มีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร จะต้องมีระดับความสว่างในแนวระดับที่พื้นที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์ และบนแถบกลางทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นกึ่งกลาง ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความส่องสว่างต่ําสุดที่ออกแบบไว้บนเส้นกึ่งกลางทางหนีภัย ทางหนีภัยที่มีความกว้างเกิน 2 เมตร สำหรับอาคารที่มีการออกแบบให้ทางหนีไฟ หรือทางหนีภัยมีความกว้างเดิน 2 เมตร สามารถกำหนดความสว่างได้สองแบบ โดยสามารถเลือกใช้งานแบบใดแบบหนึ่งได้ ดังนี้ พื้นที่โล่งภายในอาคารที่ไม่มีทางหนีภัยชัดเจน ในกรณีที่พื้นที่อาคารเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ๆ โดยไม่มีทางหนีภัยอย่างชัดเจน หรือไม่มีการติดป้ายทางหนีไฟต่าง ๆ จะต้องออกแบบให้พื้นที่มีความสว่างทั่วบริเวณ และความสว่างจะต้องไม่น้อยกว่า 0.5 ลักซ์ ยกเว้นพื้นที่บริเวณที่ห่างผนังมา 0.5 เมตร ที่สำคัญจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ พื้นที่งานที่มีความเสี่ยงสูง ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ความเสี่ยงสูง จะต้องมีการออกแบบให้พื้นที่ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย โดยจะต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 10% ของค่าระดับความส่องสว่างในช่วงเวลาปกติ แต่จะต้องให้ความสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ พื้นที่เตรียมหนีภัย, จุดรวมพล,​ปฏิบัติการดับเพลิง และห้องควบคุม ในส่วนของพื้นที่ทางหนีไฟ พื้นที่เตรียมหนีภัย จุดรวมพล

Read More »
ขั้นตอนอพยพหนีไฟในอาคาร ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการอพยพหนีไฟในอาคาร

“อัคคีภัย” เป็นหนึ่งในภัยที่ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ขึ้นแล้ว ถ้าไม่มีมาตรการรับมือที่ดี ก็อาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Sunny Emergency Light ได้รวมเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับอพยพหนีไฟมาให้แล้ว จะต้องซ้อมปีละกี่ครั้ง? เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ควรทำอย่างไร? ขั้นตอนการอพยพหนีไฟมีอะไรบ้าง? อ่านได้เลยที่บทความนี้ ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการซ้อมอพยพหนีไฟ? การเกิดเหตุไฟไหม้ถือเป็นปัญหาร้ายแรงของโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอาคารต่าง ๆ เนื่องจากตึกเหล่านี้มักมีเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้า หรืออุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ง่ายต่อการเกิดไฟไหม้ และลุกลามอย่างรวดเร็ว การซ้อมอพยพหนีไฟจึงเป็นสิ่งที่พนักงาน หรือผู้ใช้อาคารทุกคนไม่ควรเลยละเลย เพื่อที่จะได้รู้ว่า เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ต้องรับมืออย่างไร และหลบหนีไปในทิศทางใดให้รอดปลอดภัย และลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุดนั่นเอง ควรซ้อมอพยพหนีไฟปีละกี่ครั้ง? ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ควรทำอย่างไร? เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องทำก็คือการตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก และประเมินสถานการณ์เบื้องต้นให้ดี หลังจากนั้นให้พิจารณาว่าควรทำอย่างไรถึงจะเหมาะสมที่สุด 9 ขั้นตอนการอพยพหนีไฟในอาคาร เพื่อให้คุณสามารถอพยพหนีไฟในอาคารได้อย่างเหมาะสม Sunny Emergency Light ได้สรุป 9 ขั้นตอนการอพยพหนีไฟในอาคารสูงฉบับเข้าใจง่ายมาให้แล้ว ตามไปดูกันเลย สิ่งที่ไม่ควรทำในขณะที่อพยพหนีไฟ สิ่งที่ไม่ควรทำในขณะที่อพยพหนีไฟ มีดังนี้ เสริมระบบความปลอดภัยในอาคารด้วยโคมไฟฉุกเฉินจาก SUNNY จะเห็นได้ว่า การติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน สามารถให้แสงสว่างฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ได้ตามปกติ และติดตั้งป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่มีสัญลักษณ์คมชัด สังเกตเห็นได้ง่าย เพื่อนำทางให้ผู้ใช้อาคารไปยังบันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด เป็นส่วนหนึ่งในระบบความปลอดภัยในอาคารที่มีความสำคัญอย่างมาก และเจ้าของอาคารไม่ควรละเลย ถ้าหากคุณไม่รู้จะใช้โคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี เราขอแนะนำโคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG ของ SUNNY ที่มาพร้อมกับระบบ Auto Check สามารถตรวจสอบการทำงานของตัวเครื่องได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่,​ หลอดไฟ, ฟิวส์, วงจรแสงสว่าง และระบบการชาร์จแบตเตอรี่ ช่วยให้คุณมั่นใจได้เลยว่า เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จนทำให้ไฟฟ้าดับ จะมีแสงสว่างฉุกเฉินให้เห็นทัศนียภาพชัดเจนอย่างแน่นอน! สรุปเรื่องการอพยพหนีไฟ จะเห็นได้ว่า การซ้อมอพยพหนีไฟเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะจะช่วยให้เรารู้ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้ขึ้น สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนที่ไม่ควรทำ ต้องหลบหนีไปยังเส้นทางใดเพื่อที่จะได้อพยพออกมาจากอาคารอย่างปลอดภัย

Read More »
สรุปข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง แบบฉบับเข้าใจง่าย

สรุปข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง แบบฉบับเข้าใจง่าย

อาคารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอนโด หอพัก หรือสถานประกอบการอย่างอาคารสำนักงาน โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน หรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ล้วนเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่ การวางระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน เพื่อเตรียมรับมือกับภัยต่าง ๆ เช่น การโจรกรรม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรืออัคคีภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น จะได้รับมืออย่างทันท่วงที ช่วยลดความสูญเสียต่าง ๆ ทั้งต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า อาคารที่ใช้งานอยู่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน Sunny Emergency Light จะพาไปทำความรู้จักกับระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารเอง จะต้องมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย! ทำไมต้องมีระบบความปลอดภัยในอาคาร? การวางระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกอาคารต้องมี เนื่องจากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายในการสร้างตึกตึกหนึ่ง เพื่อที่เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ หรือโจรกรรม จะได้พาผู้คนในอาคารอพยพออกมาจากอาคารได้อย่างปลอดภัย รวมถึงสามารถป้องกันเหตุ แจ้งเหตุ และระงับเหตุไม่ให้เกิดขึ้น หรือรุนแรงมากขึ้นได้นั่นเอง ระบบความปลอดภัยในอาคาร มีอะไรบ้าง? ตัวอย่างระบบความปลอดภัยในอาคาร เช่น อาคาร หรือตึกแบบไหนที่ต้องมีระบบความปลอดภัยในอาคาร อาคาร หรือตึกทุกประเภทจะต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น การระบายอากาศภายในอาคาร การติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทำบันไดหนีไฟ หรือระบบไฟฟ้าสำรองภายในอาคาร เป็นต้น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคาร  อย่างไรก็ตาม อาคารแต่ละประเภท จะมีข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารที่แตกต่างกัน เพื่อการวางระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน จึงควรปรึกษาผู้ตรวจสอบอาคารก่อนทำการสร้างตึกให้ดี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้มาก 13 ข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง เพื่อให้คุณเห็นภาพระบบความปลอดภัยในอาคารมากขึ้น เรามีตัวอย่าง 13 ข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูงมาฝาก อ้างอิงมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาคารสูง ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) และฉบับที่ 50 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่ละหัวข้อจะมีความน่าสนใจอย่างไร ไปดูกันเลย! 1. ที่ตั้งของอาคาร ที่ตั้งของอาคารสูงที่มีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร โดยด้านหนึ่งของที่ดินจะต้องไม่น้อยกว่า

Read More »
ไฟฉุกเฉินคืออะไรมีกี่แบบทำงานอย่างไร

รวมทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คืออะไร? มีกี่แบบ?

ในทุก ๆ อาคาร ทุก ๆ สถานที่ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือ “ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)” ที่จะติดตั้งอยู่ตามบริเวณทางเดิน หรือทางออกฉุกเฉิน แล้วไฟฉุกเฉิน คืออะไร? มีหน้าที่อะไรในระบบรักษาความปลอดภัย? Sunny Emergency Light จะพาคุณไปหาคำตอบเอง ไฟฉุกเฉินคืออะไร? ไฟฉุกเฉิน คือ เครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือจับสัญญาณได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีค่าความสว่างต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานของแต่ละรุ่น) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน นำทางไปยังป้ายทางออกฉุกเฉิน และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ตัวอย่างบริเวณที่ต้องมีโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉินทำงานอย่างไร? โคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง โดยแบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่ แบตเตอรี่แบบชนิดเติมน้ำกลั่น และแบตเตอรี่แบบแห้ง โดยเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ โคมไฟฉุกเฉินจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการส่องสว่าง ซึ่งระยะเวลาการส่องสว่างจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของโคมไฟฉุกเฉินและขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะต้องส่องสว่างอยู่ได้นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ไฟฉุกเฉินมีกี่แบบ แต่ละแบบมีจุดเด่นอย่างไร? ในปัจจุบัน มีโคมไฟฉุกเฉินจัดจำหน่ายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันทั่วไป เพราะให้แสงสว่างได้สูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังวัตต์ต่ำมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องนาน 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะนำมาติดตั้งแบบแขวนผนังตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของอาคาร สำหรับใครที่ไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉิน LED 2 หัวโคม แบบแขวนผนัง รุ่นไหนดี! เราขอแนะนำ โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG จาก SUNNY ที่มาพร้อมกับระบบ Auto Check ที่คอยตรวจเช็กสมรรถนะของตัวเครื่องและแจ้งเตือนความผิดปกติอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ และวงจรแสงสว่าง ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าโคมไฟฉุกเฉินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จ  3 Steps Charger

Read More »
เลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี?

ตอบข้อสงสัยเลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี? พร้อมแนะนำโคมไฟฉุกเฉิน 5 รุ่นสุดฮิต จาก SUNNY

“โคมไฟฉุกเฉิน” หรือ “Emergency Light” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยของอาคาร หรือที่พักอาศัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะช่วยให้ความสว่างเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือเกิดเพลิงไหม้ และนำทางไปยังทางออกฉุกเฉิน ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถหลบหนีได้อย่างปลอดภัย แล้วควรเลือกโคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี Sunny Emergency Light มีคำแนะนำมาฝาก ควรเลือกไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี? ในปัจจุบันมีโคมไฟฉุกเฉินให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ อาจทำให้ผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังสร้างอาคาร โรงงาน หรือที่พักอาศัย ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้โคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี เพื่อให้คุณเลือกยี่ห้อโคมไฟฉุกเฉินได้อย่างตอบโจทย์ คุ้มค่าคุ้มราคา เรามีคำแนะนำในการเลือกโคมไฟมาฝาก สามารถเลือกได้จากหัวข้อเหล่านี้เลย แนะนำ 5 โคมไฟฉุกเฉิน ยี่ห้อ SUNNY ที่ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ หากคุณไม่รู้จะซื้อโคมไฟฉุกเฉินยี่ห้อไหนดี SUNNY ขอแนะนำ 5 รุ่นโคมไฟฉุกเฉินยอดนิยม ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ แต่ละรุ่นจะมีความน่าสนใจอย่างไร ไปดูกันเลย! 1. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น MESG โคมไฟฉุกเฉิน SUNNY รุ่น MESG มาพร้อมกับระบบ Auto Check คอยตรวจสอบสมรรถนะตัวเครื่อง และแจ้งเตือนความผิดปกติโดยอัตโนมัติในทุกจุดสำคัญของตัวเครื่อง เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ วงจรแสงสว่าง และระบบการชาร์จแบตเตอรี่ แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จนวัตกรรมใหม่อย่าง 3 Steps Charger System (เลขอนุสิทธิบัตร 15955) ที่เหนือกว่าระบบชาร์จอื่นช่วยปกป้องกระบวนการชาร์จแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์ 2. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SGM โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SGM ที่ทำหน้าที่มากกว่าโคมไฟฉุกเฉินทั่วไป มีจุดเด่นตรงฟังก์ชันเสริม “วงจรจับการเคลื่อนไหว (Motion Sensor)” ที่ช่วยให้ใช้งานหลอดไฟจากตัวเครื่องอย่างคุ้มค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายสถานการณ์ โดยในขณะที่ไฟฟ้าดับ ตัวเครื่องสำรองไฟจะให้แสงสว่างด้วยไฟจากแบตเตอรี่ และในขณะที่ไฟไม่ดับ หากมีคนเดินผ่านที่ตัวเครื่อง แล้วพื้นที่บริเวณนั้นมีค่าแสงสว่างต่ำกว่า 5 ลักซ์ วงจรจับการเคลื่อนไหวจะทำงาน ทำให้ไฟติดเองอัตโนมัติ และจะดับภายใน 15 วินาที ถ้าไม่มีคนอยู่ 3. โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG โคมไฟฉุกเฉิน รุ่น SG

Read More »